วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทที่9 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย


บทที่9 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ (อังกฤษ: Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก [2] รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว
Windows_Family_Tree.svg.png
·         วินโดวส์โมเบิล (Windows Mobile) วินโดวส์ซีอี (Windows CE) ใช้สำหรับอุปกรณ์ฝังตัว และอุปกรณ์พกพา
·         พ็อคเกตพีซี (Pocket PC) สำหรับ PDA
·         พ็อคเก็ตพีซีรุ่นสำหรับโทรศัพท์ (Pocket PC Phone Edition) สำหรับลูกผสมของ PDA และโทรศัพท์
·         สมาร์ทโฟน สำหรับโทรศัพท์
·         Portable Media Center สำหรับ Digital Media Players
·         วินโดวส์เอกซ์พี สำหรับเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊ค (เลขรุ่น: NT 5.1.2600)
·         Windows XP Starter Edition สำหรับคอมพิวเตอร์วางขายใหม่ ในประเทศกำลังพัฒนา (รวมประเทศไทย)
·         Windows XP Embedded สำหรับอุปกรณ์ฝังตัว
·         Windows XP Home Edition สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน
·         Windows XP Home Edition N เป็นรุ่นที่ไม่ได้ติดตั้ง Windows Media Player ตามคำสั่งของคณะกรรมการของสหภาพยุโรป
·         Windows XP Professional Edition สำหรับธุรกิจและผู้ใช้ระดับสูง
·         Windows XP Professional Edition N เป็นรุ่นที่ไม่ได้ติดตั้ง Windows Media Player ตามคำสั่งของคณะกรรมการของสหภาพยุโรป
·         Windows XP Tablet PC Edition สำหรับโน้ตบุ้คที่มีจอแบบสัมผัส
·         Windows XP Media Center Edition สำหรับเดสก์ท็อปและโน้ตบุ้คที่เน้นไปทางบันเทิงโดยเฉพาะ
·         วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ (เลขรุ่น: NT 5.2.3790)
·         Small Business Server สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก (สนับสนุน 2 ซีพียู)
·         Web Edition สำหรับเว็บเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป (สนับสนุน 2 ซีพียู)
·         Standard Edition สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กที่ไม่ได้ทำคลัสเตอร์ (สนับสนุน 4 ซีพียู)
·         Enterprise Edition สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ หรือคลัสเตอร์ (สนับสนุน 8 ซีพียู)
·         Datacenter Edition สำหรับเซิร์ฟเวอร์เทียบเท่าเมนเฟรม (สนับสนุน 128 ซีพียู)
·         Storage Server สำหรับเก็บข้อมูลแบบเครือข่าย
·         วินโดวส์ วิสตา (Windows Vista) หรือชื่อเก่าคือ วินโดวส์ ลองฮอร์น (เลขรุ่น: NT 6.0.6002)
·         Windows Vista Ultimate เป็นเวอร์ชันที่รวบรวมทุกความสามารถไว้ในตัวเดียว
·         Windows Vista Enterprise ออกแบบมาสำหรับลดขั้นตอนการดูแล และเหมาะสำหรับองค์กรที่มีความซับซ้อนสูง
·         Windows Vista Business ออกแบบมาเพื่อธุรกิจขนาดเล็ก มีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูล และมีค่าใช้จ่ายในการดูแลต่ำ
·         Windows Vista Home Premium ออกแบบมาไว้สำหรับใช้ในบ้าน เพื่อความบันเทิง และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สาย
·         Windows Vista Home Basic ออกแบบให้มีฟังก์ชันพื้นฐานและไม่ซับซ้อนสำหรับผู้ใช้งานเริ่มต้น
·         Windows Vista Starter มีขายในประเทศที่กำลังพัฒนา (รวมไทย)
·         วินโดวส์ 7 (Windows 7) หรือ วินโดวส์ เซเวน (Windows Seven) (เลขรุ่น: NT 6.1.7600)
·         Windows 7 Ultimate เป็นเวอร์ชันที่รวมทุกๆ ความสามารถไว้ทั้งหมด
·         Windows 7 Enterprise เหมือนรุ่น Ultimate แต่จำหน่ายให้ผู้ใช้ระดับองค์กรเท่านั้น
·         Windows 7 Professional เหมือน Windows Vista Business แต่เพิ่มคุณสมบัติด้านความบันเทิงเข้ามาด้วยเหมือน Windows XP Professional
·         Windows 7 Home Premium ออกแบบมาไว้สำหรับใช้ในบ้าน เพื่อความบันเทิง และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สาย
·         Windows 7 Home Basic มีขายในประเทศที่กำลังพัฒนา (รวมไทย)
·         Windows 7 Starter รุ่นนี้ไม่มีวางจำหน่าย แต่ว่าจะติดมากับเน็ตบุ๊ค (Netbook) รุ่นใหม่ๆ เท่านั้น
·         วินโดวส์ 8 (Windows 8) หรือ วินโดวส์ เอท (Windows Eight) (เลขรุ่น: NT 6.2.9200)
·         Windows 8 รุ่นมาตรฐาน
·         Windows 8 Pro เทียบได้กับรุ่น Professional ของ Windows รุ่นเก่าๆ คือเพิ่มฟีเจอร์มาจากรุ่นมาตรฐานอีกบางส่วน
·         Windows 8 Enterprise รุ่น Pro แบบขายกับองค์กร เพิ่มฟีเจอร์มาอีกเล็กน้อย ไม่มีวางจำหน่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไป
·         Windows RT ไม่มีวางจำหน่าย แต่จะติดตั้งมากับฮาร์แวร์ เช่น แท็บเลต สมาร์ทโฟน และมี Office 2013 RT ที่ทำงานในโหมดเดสก์ท็อปมาให้
Novell netware

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเน็ตแวร์
เน็ตแวร์เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายระดับ PC ที่สร้างมาตั้งแต่ปี 1980 โดยบริษัทโนเวล เพื่อให้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์(PC) สามารถใช้จานแม่เหล็กและเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้
เน็ตแวร์เวอร์ชันต่อมาเป็น เวอร์ชัน 2.0 ซึ่งผลิตในปี 1986 ใช้สำหรับเครื่อง PC รุ่น 80286 เป็นเครื่องที่ทำงานในระดับ 16 บิต และในปี 1987 ออกเน็ตแวร์ 2.1 เพิ่มความสามารถทางด้าน disk mirroring และความสามารด้าน Fault Tolerant
เวอร์ชั่น 3 ออกมาในปี 1989 เรียกว่า NetWare 386 เป็นระบบปฎิบัติการแบบ 32 บิต ออกแบบสำหรับใช้กับเครื่อง PC 80386,80486 เริ่มสนับสนุนโปรโตคอลเครือข่ายแบบ TCP/IP และระบบรักษาความปลอดภัยเป็นแบบ Bindery Service
ปัจจุบันเวอร์ชั่นล่าสุดคือ 4.11 เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า IntraNetWare ซึ่งระบบรักษาความปลอดภัยเป็นแบบ NDS (Novell Directory Services) และ สามารถใช้งานเป็นอินเตอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์ได้โดยบริษัทโนเวลได้ร่วมมือก้บบริษัทเน็ตสเคป จัดตั้งบริษัท Novonyx เพื่อสร้าง WWW Server ที่ทำงาน บนเน็ตแวร์
NDS เป็นคุณสมบัติที่เด่นที่สุดสำหรับเน็ตแวร์ 4 มีความสามารถในการกำหนดทรัพยากรของเน็ตแวร์เซอร์ฟเวอร์หลายๆเครื่องในเครือข่ายให้มองเห็นเป็นกลุ่มเดียวกันและใช้งานข้ามกันไปมาได้อย่างสะดวกและปลอดภัย โดยเฉพาะในหน่วยงานใหญ่ๆที่มีเซอร์ฟเวอร์เป็นจำนวนมาก(หลายสิบหรือร้อยเครื่อง)และกระจัดกระจายไปตามแผนก/ฝ่ายต่างๆ ทำให้การบริหารระบบเป็นไปได้ยากถ้าไม่มี NDS 
การติดตั้งระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์
การเตรียมการก่อนติดตั้งเน็ตแวร์ 3.12
จัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบยี่ห้อของการ์ดเครือข่าย(LAN CARD) ว่าใช้ Interrupt และ IO Address ของการ์ดพร้อมกับจดบันทึกไว้ (การตรวจสอบการ์ดเครือข่าย ให้ใช้โปรแกรมไดร์เวอร์ที่มาพร้อมกับการ์ดเครือข่าย - ถ้าจะให้การติดตั้งราบรื่นควรใช้การ์ดที่เป็นแบบNE2000 Compatible และ Interrupt = 3, IO Address=300)
ตรวจสอบจานแม่เหล็กและจัดแบ่งส่วน(Partition)ของจานแม่เหล็กโดยให้เหลือเนื้อที่ที่ยังไม่ได้ใช้เพื่อเตรียมให้เป็นพื้นที่ของเน็ตแวร์ เช่น ส่วนของดอสประมาณ 10 เมกกะไบท์ ส่วนที่เหลือเป็นส่วนที่เตรียมสำหรับเน็ตแวร์และยังไม่ต้องสร้าง partition (การแบ่งส่วนของจานแม่เหล็กให้ใช้โปรแกรม FDISK ของดอส)
การติดตั้งเน็ตแวร์ 3.12
บูทเครื่องด้วยแผ่นดิสเก็ตหรือฮาร์ดดิสเพื่อให้เข้าสู่โปรแกรมดอส
นำแผ่น ซีดีรอมของเน็ตแวร์ใส่เข้าเครื่องอ่าน และเปลี่ยน default drive เป็นเครื่องอ่านซีดีรอมแล้วใช้คำสั่ง (ถ้าเป็นแผ่นดิสเก็ตให้ใส่แผ่นที่ 1 และเปลี่ยน default drive ไปที่ floppy disk)
=> CD \NETWARE.312\INSTALL [enter]
=> INSTALL [enter]
(โดยที่ โปรแกรมเน็ตแวร์ 3.12 อยู่ในไดเร็คทอรี NETWARE.312 ส่วนคำสั่ง INSTALL จะทำการสร้างไดเร็คทอรี่ SERVER.312 ไว้ในไดรว์ C และเริ่มทำการติดตั้งโปรแกรม)
โปรแกรม INSTALL จะแสดงจอภาพ Netware Installation Utility ให้เลือกรายการ
=> Install new NetWare v3.12
โปรแกรมจะแสดง Partition ภายในฮาร์ดดิส และรายการทำงานของ Disk Partition Options
=>ให้เลือก Retain current disk partitions
โปรแกรมจะให้ใส่ชื่อ Server ให้ป้อนชื่อ Server เข้าไป
=><ชื่อServer> [enter]
โปรแกรมติดตั้งจะให้ใส่ Internal network number โดยมีค่า default อยู่แล้วให้ใช้ค่า default นั้น
โปรแกรมติดตั้งจะให้กด
=>Enter เพื่อเริ่มต้นทำการ copy แฟ้มข้อมูลจาก ไดเร็คทอรี่ของโปรแกรมติดตั้งไปไว้ในไดเร็คทอรี่ SERVER.312
โปรแกรมติดตั้งจะค้นหาแฟ้มซึ่งอยู่ไดเร็คทอรี่ของ SYSTEM_1 ถ้าหาไม่พบจะให้เราระบุ ไดเร็คทอรี่ที่เก็บโปรแกรมที่ต้องการเหล่านี้ โดยจะขึ้นข้อความ
File SERVER.EXE is not locate in the current source path.This file is on the “NetWare 3.12 SYSTEM_1”
ให้กดปุ่ม F2  แล้วระบุ path C:\NETWARE.312\SYSTEM_1 (สมมติว่าโปรแกรมติดตั้งอยู่ในไดเร็คทอรี่ NETWARE.312 ในไดรว์ C: )
โปรแกรมติดตั้งจะค้นหาแฟ้มซึ่งอยู่ไดเร็คทอรี่ของ SYSTEM_2 ถ้าหาไม่พบจะให้เราระบุไดเร็คทอรี่ที่เก็บโปรแกรมที่ต้องการเหล่านี้ โดยจะขึ้นข้อความ
No file matching “SYSTEM.2\BC\*.*”
ให้กดปุ่ม F2 แล้วระบุ path C:\NETWARE.312\SYSTEM_2
โปรแกรมติดตั้งจะค้นหาแฟ้มซึ่งอยู่ไดเร็คทอรี่ของ UNICODE ถ้าหาไม่พบ จะให้เราระบุไดเร็คทอรี่ที่เก็บโปรแกรมที่ต้องการเหล่านี้ โดยจะขึ้นข้อความ
No file matching “LC_*.*”
ให้กดปุ่ม ->F2 แล้วระบุ path C:\NETWARE.312\UNICODE
โปรแกรมติดตั้งจะแสดงจอภาพให้กำหนด Country Code, Code Page, Keyboard Mapping พร้อมกับค่า default มาแล้ว ให้กด F10 เพื่อตอบรับค่า default ที่กำหนดให้
โปรแกรมติดตั้งจะแสดงจอภาพให้เลือกประเภทไฟล์ที่ใช้ (Select the file format) ให้เลือก
=> DOS Filename Format(recommended)
โปรแกรมติดตั้งจะถามว่าต้องการกำหนดคำสั่งเริ่มทำงานหรือไม่(Do you want to specify special startup set command?) ให้ตอบ
=>No
โปรแกรมติดตั้งจะถามว่าต้องการให้แก้ไขไฟล์ AUTOEXEC.BAT เพื่อให้โหลดโปรแกรมเน็ตแวร์โดยอัตโนมัติเมื่อบูทเครื่องหรือไม่(Do you want AUTOEXEC.BAT to load SERVER.EXE?) ให้ตอบ
=>Yes
การเชื่อมต่อเครื่องลูกข่ายกับเน็ตแวร์
ก. เครื่องลูกข่าย DOS - แบบ Bindery Service
ใช้ในการจัดการบริหารเน็ตแวร์ 3 ไม่สามารถจัดการเน็ตแวร์ 4 ได้ อย่างไรก็ตามยังสามารถเข้าใช้เซอร์ฟเวอร์เน็ตแวร์ 4 ในลักษณะเป็นผู้ใช้งานได้

บูทเครื่องลูกข่ายด้วย DOS

ป้อนคำสั่งที่ DOS Prompt ดังนี้
=> IPX.COM[enter] ปรากฏข้อความบนจอภาพดังนี้

Novell IPX/SPX v3.10 (911121)
(C) Copyright 1985, 1991 Novell Inc. All Rights Reserved.
LAN Option: Plug-and-Play Ethernet Card V2.01c (950905)

        Hardware Configuration : IRQ = 3, I/O Base = 300h

ป้อนคำสังต่อไปที่ DOS Prompt
=> NETX.EXE[enter] ปรากฏข้อความบนจอภาพดังนี้

        NetWare Workstation Shell V3.32(931117) PTF

(C) Copyright 1993 Novell Inc. All Rights Reserved.

        Patent Pending.
        Running on DOS V6.22
        Attached to server <ชื่อServer>
        09-02-98 7:01:56 am

Login เข้าสู่ Netware ดังนี้
F:[enter]
F:\LOGIN> Login ชื่อเซอร์ฟเวอร์/supervisor    (ตัวอย่างเช่น Login ISECNW/supervisor)
Enter your password :

ใส่รหัสผ่าน[enter] จะปรากฏข้อความดังนี้

Drive A: map to a Local disk.

Drive B: map to a Local disk.

Drive C: map to a Local disk.

Drive F: = <ชื่อServer>: \SYSTEM

-----

SEARCH1: = Z:[<ชื่อServer>\SYS: \PUBLIC]

SEARCH2: = Y:[<ชื่อServer>\SYS: \]

F:\SYSTEM>

คำสั่งที่ใช้งานสำหรับเน็ตแวร์ 3.12 สำหรับเครื่องลูกข่าย DOS
login/logout ใช้สำหรับการเข้าใช้และออกจากการใช้งานเครือข่าย
whoami ใช้สำหรับตรวจสอบรหัสผู้ใช้ที่กำลัง login อยู่ว่าเข้าใช้ Server ใดและเข้ามาเป็นลำดับที่ (connection) เท่าใด

UNIX
ยูนิกซ์ (Unix แต่ชื่อตามเครื่องหมายการค้าคือ UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบหลายงาน หลายผู้ใช้ ที่เริ่มพัฒนาโดยกลุ่มพนักงานของห้องปฏิบัติการ AT&T Bell Labs โดยกลุ่มนักพัฒนาที่เป็นที่รู้จัก คือ Ken Thompson, Dennis Ritchie และ Douglas McIlroy
ในทศวรรษที่ 60 สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) , AT&T Bell Labs และบริษัท General Electric ได้ร่วมมือกันวิจัยระบบปฏิบัติการที่ชื่อว่า Multics (ย่อมาจาก Multiplexed Information and Computing Service) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำงานบนเครื่องเมนเฟรมรุ่น GE-645 แต่ภายหลัง AT&T ได้ถอนตัวออกจากโครงการนี้
Ken Thompson ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมพัฒนาในขณะนั้น ได้เขียนเกมบนเครื่อง GE-645 ชื่อว่าเกม Space Travel และพบปัญหาว่าเกมทำงานได้ช้ากว่าที่ควร เขาจึงย้ายมาเขียนเกมใหม่บนเครื่อง PDP-7 ของบริษัท DEC แทนด้วยภาษาแอสเซมบลี โดยความช่วยเหลือของ Dennis Ritchie ประสบการณ์เหล่านี้ทำให้ Thompson หันมาพัฒนาระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PDP-7
ระบบปฏิบัติการนี้มีชื่อว่า UNICS ย่อมาจาก Uniplexed Information and Computing System เนื่องจากว่าการออกเสียงสามารถสะกดได้หลายแบบ และพบปัญหาชื่อใกล้เคียงกับ Multics ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Unix
การพัฒนายูนิกซ์ในช่วงนี้ยังไม่ได้รับความสนับสนุนด้านการเงินจาก Bell Labs เมื่อระบบพัฒนามากขึ้น Thompson และ Ritchie จึงสัญญาว่าจะเพิ่มความสามารถในการประมวลผลคำ (Word Processing) บนเครื่อง PDP-11/20 และเริ่มได้รับการตอบรับจาก Bell Labs ในปีค.ศ. 1970 ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงได้รับการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการ โปรแกรมประมวลผลคำมีชื่อว่า roff และหนังสือ UNIX Programmer's Manual ตีพิมพ์ครั้งแรกวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1971
ค.ศ. 1973 ได้เขียนยูนิกซ์ขึ้นมาใหม่ด้วยภาษาซีใช้ได้ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มินิคอมพิวเตอร์และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกัน ดังนั้น ยูนิกส์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน ลักษณะการติดต่อกับผู้ใช้เป็นทั้งแบบ Command-line และ GUI ทำให้สะดวกต่อการนำยูนิกซ์ไปทำงานบนเครื่องชนิดอื่นมากขึ้น ทาง AT&T ได้เผยแพร่ยูนิกซ์ไปยังมหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล โดยสัญญาการใช้งานเปิดเผยซอร์สโค้ด ยกเว้นเคอร์เนลส่วนที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี
ยูนิกซ์เวอร์ชัน 4,5 และ 6 ออกในค.ศ. 1975 ได้เพิ่มคุณสมบัติ pipe เข้ามา ยูนิกซ์เวอร์ชัน 7 ซึ่งเป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่พัฒนาแบบการวิจัย ออกในค.ศ. 1979 ยูนิกซ์เวอร์ชัน 8,9 และ 10 ออกมาในภายหลังในทศวรรษที่ 80 ในวงจำกัดเฉพาะมหาวิทยาลัยบางแห่งเท่านั้น และเป็นต้นกำเนิดของระบบปฏิบัติการ Plan 9
ค.ศ. 1982 AT&T นำยูนิกซ์ 7 มาพัฒนาและออกขายในชื่อ Unix System III แต่บริษัทลูกของ AT&T ชื่อว่า Western Electric ยังคงนำยูนิกซ์รุ่นเก่ามาขายอยู่เช่นกัน เพื่อยุติความสับสนทางด้านชื่อ AT&T จึงรวมการพัฒนาทั้งหมดจากบริษัทและมหาวิทยาลัยต่างๆใน Unix System V ซึ่งมีโปรแกรมอย่าง vi ที่พัฒนาโดย Berkeley Software Distribution (BSD) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ รวมอยู่ด้วย ยูนิกซ์รุ่นนี้สามารถทำงานได้บนเครื่อง VAX ของบริษัท DEC
ยูนิกซ์รุ่นที่เป็นการค้าไม่เปิดเผยซอร์สโค้ดอีกต่อไป ทางมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ จึงพัฒนายูนิกซ์ของตัวเองต่อเพื่อเป็นทางเลือกกับ System V การพัฒนาที่สำคัญที่สุดคือเพิ่มการสนับสนุนโพรโทคอลสำหรับเครือข่าย TCP/IP เข้ามา
บริษัทอื่นๆ เริ่มพัฒนายูนิกซ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบของตนเอง โดยส่วนมากใช้ยูนิกซ์ที่ซื้อสัญญามาจาก System V แต่บางบริษัทเลือกพัฒนาจาก BSD แทน หนึ่งในทีมพัฒนาของ BSD คือ Bill Joy มีส่วนในการสร้าง SunOS (ปัจจุบันคือ โซลาริส) ของบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์
ค.ศ. 1981 ทีมพัฒนา BSD ได้ออกจากมหาวิทยาลัยและก่อตั้งบริษัท Berkeley Software Design, Inc (BSDI) เป็นบริษัทแรกที่นำ BSD มาขายในเชิงการค้า ในภายหลังเป็นต้นกำเนิดของระบบปฏิบัติการ FreeBSD, OpenBSD และ NetBSD
AT&T ยังคงพัฒนาความสามารถต่างๆ เข้าสู่ยูนิกซ์ System V และรวมเอา Xenix (ยูนิกซ์ของบริษัทไมโครซอฟท์) , BSD และ SunOS เข้ามารวมใน System V Release 4 (SVR4) เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งเดียวสำหรับลูกค้า ซึ่งเพิ่มราคาขึ้นอีกมาก
หลังจากนั้นไม่นาน AT&T ขายสิทธิ์ในการถือครองยูนิกซ์ให้กับบริษัทโนเวลล์ และโนเวลเองได้สร้างยูนิกซ์ของตัวเองที่ชื่อ UnixWare ซึ่งพัฒนามาจากระบบปฏิบัติการ NetWare เพื่อแข่งกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นทีของไมโครซอฟท์
ค.ศ. 1995 โนเวลขายส่วนต่างๆ ของยูนิกซ์ให้กับบริษัท Santa Cruz Operation (SCO) โดยโนเวลยังถือลิขสิทธิ์ของยูนิกซ์ไว้ ค.ศ. 2000 SCO ขายสิทธิ์ส่วนของตนเองให้กับบริษัท Caldera ซึ่งเปลี่ยนชื่อภายหลังเป็น SCO Group ซึ่งเป็นสาเหตุในการดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์กับลินุกซ์




Unix history-simple.svg





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น