วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 13 ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

บทที่ 13 ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิเช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล (e-Mail) , สนทนา (Chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์ , การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ, การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรือ อื่นๆ
แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไฮไฟฟ์ และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก
ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 2.095 พันล้านคน หรือ 30.2 % ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน มีนาคม 2554) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น 44.0 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 384 ล้านคน
หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับจำนวนประชากรรวม พบว่าทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนผู้ใช้ต่อประชากรสูงที่สุดคือ 78.3 % รองลงมาได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย 60.1 % และ ทวีปยุโรป คิดเป็น 58.3 % ตามลำดับ
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"
การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย [1]
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน) ... ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2 [2]
อินเทอร์เน็ตแบนด์วิท
ปัจจุบัน (มกราคม 2553) ประเทศไทยมีความกว้างช่องสัญญาณ (Internet Bandwidth) ภายในประเทศ 110 Gbps และระหว่างประเทศ 110 Gbps
ประโยชน์การใช้อินเทอร์เน็ต

          ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้
ด้านการศึกษา
          - สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
          - ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
          - นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น
ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
          - ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
          - สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          - ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
ด้านการบันเทิง
          - การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine o­nline รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
          - สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
          - สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้
ากเหตุผลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้
      
          1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
          2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้
          3. การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
          4. การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
          5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
          6. การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
          7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต
          8. การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง

          โดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร
การทำงานของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
โดเมนเนม (Domain name system :DNS)
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข
โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
.com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
.edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
การขอจดทะเบียนโดเมน
การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน
 การขอจดทะเบียนโดเมน มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ
1. การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับ www.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net
2. การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับ www.thnic.net
โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย .th ประกอบด้วย
ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
.co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
.go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
.net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
.or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป
TOP
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)
1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเทอร์เน็ตได้
องค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตรายบุคคล
1. โทรศัพท์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
4. โมเด็ม (Modem)
โมเด็ม คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณในคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital) แต่สัญญาณเสียงในระบบโทรศัพท์เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) ดังนั้นเมื่อต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตจึงต้องใช้โมเด็มเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกตามสายโทรศัพท์ และแปลงกลับจากสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัล เมื่อถึงปลายทาง
ความเร็วของโมเด็มมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาที (bit per second : bps) หมายความว่า ในหนึ่งวินาที จะมีข้อมูลถูกส่งออกไป หรือรับเข้ามากี่บิต เช่น โมเด็มที่มีความเร็ว 56 Kpbs จะสามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้ 56 กิโลบิตในหนึ่งวินาที
โมเด็มสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
 1. โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External modem)
เป็นโมเด็มที่ติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ภายนอก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะในปัจจุบันการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะผ่าน USB พอร์ต (Universal Serial Bus) ซึ่งเป็นพอร์ตที่นิยมใช้กันมาก ราคาของโมเด็มภายนอกไม่สูงมากนัก แต่จะยังมีราคาสูงกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายใน รูปที่ 6.3 แสดงโมเด็มภายนอก
2. โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal modem)
เป็นโมเด็มที่เป็นการ์ดคอมพิวเตอร์ที่ต้องติดตั้งเข้าไปกับแผงวงจรหลักหรือเมนบอร์ด (main board) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็มประเภทนี้จะมีราคาถูกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก เวลาติดตั้งต้องอาศัยความชำนาญในการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และติดตั้งไปกับแผงวงจรหลัก
3. โมเด็มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note Book Computer) อาจเรียกสั้นๆว่า PCMCIA modem
2. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ประเภทการเชื่อต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
หมายถึง การสร้างเส้นทางการสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุด (peer- to-peer)
     เป็นการเชื่อมต่อแบบพื้นฐาน โดยต่อจากอุปกรณ์รับหรือส่ง 2 ชุด ใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวมีความยาวของสายไม่จำกัด เชื่อมต่อสายสื่อสาร
ไว้ตลอดเวลา (Lease Line) ซึ่งสายส่งอาจจะเป็นชนิดสายส่งทางเดียว (Simplex) สายส่งกึ่งทางคู่ (Half-duplex) หรือสายส่งทางคู่แบบสมบูรณ์
(Full-duplex) ก็ได้ และสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งแบบซิงโครนัสหรือแบบอซิงโครนัส การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดมีได้หลายลักษณะ
ซึ่งการเชื่อมด้วยวิธีนี้จะมีคุณสมบัติ 3 ประการ ที่สำคัญ ดังนี้
1. เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อกันแบบโดยตรงระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง แบนด์วิดธ์บนสายสื่อสารที่ใช้งานระหว่างกันจะสามารถใช้งานได้
อย่างเต็มที่ โดยไม่มีโหนดอื่น ๆ เข้ามาแชร์การใช้งาน
2. มีความยืดหยุ่นในส่วนของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สื่อสารกัน รวมถึงรูปแบบของแพ็กเก็ตข้อมูล
3. มีความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวในข้อมูลที่สื่อสารกัน เนื่องจากช่องทางการสื่อสารที่ใช้สื่อสารกันไม่มีการแชร์เพื่อใช้งานร่วมกับโหนดอื่น ๆ
ข้อเสียที่เห็นได้ชัดของการเชื่อมแบบจุดต่อจุดคือ จะส่งผกระทบต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีอัตราการเพิ่มจำวนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย โดยหากมีการเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์เพิ่มอีกหนึ่งเครื่องบน Location 1 จะต้องเพิ่มสายจากเดิมที่มีอยู่ 10 เส้น เป็น 15 เส้น นั่นหมายถึง หากมีการเพิ่มจำนวน N เครื่องเข้าไป จำนวนสายที่ต้องโยงก็จะเพิ่มขึ้นใหม่เป็น N – 1 นั่นเอง
2. การเชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multi Point)
     เนื่องจากค่าเช่าช่องทางในการส่งผ่านข้อมูลต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมาก การส่งข้อมูลไม่ได้ใช้งาน
ตลอดเวลา จึงมีแนวความคิดที่จะใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวแต่เชื่อมต่อกับหลายๆ จุดซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ลักษณะการเชื่อมต่อ
แบบหลายจุดแสดงให้เห็นได้
     การเชื่อมต่อแบบหลายจุดแต่จุดจะมีบัฟเฟอร์ (Buffer) ซึ่งเป็นที่พักเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนทำการส่ง โดยบัฟเฟอร์จะรับข้อมูลมาเก็บเรื่อย ๆ จนเต็มบัฟเฟอร์ ข้อมูลจะถูกส่งทันทีหรือเมื่อมีคำสั่งให้ส่ง เพื่อใช้สายสื่อสารให้เต็มประสิทธิภาพในการส่งแต่ละครั้ง และช่วงใดที่ว่างก็สามารถให้ผู้อื่น
ส่งได้ การเชื่อมต่อแบบนี้จะเหมาะกับการสื่อสารที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก และเป็นข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการสื่อสารข้อมูล
โดยวิธีการเชื่อมต่อแบบหลายจุดจะประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ระบบสื่อสารได้ค่อนข้างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการดังต่อไปนี้
ประสิทธิภาพของเครื่องและซอฟต์แวร์ที่ใช้สื่อสารข้อมูล
ปริมาณการส่งผ่านข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสถานีส่งและรับข้อมูล
ความเร็วของช่องทางการส่งผ่านข้อมูลที่ใช้
ข้อจำกัดที่ออกโดยองค์การที่ควบคุมการสื่อสารของแต่ละประเทศ
การเตรียมการเชื่อมต่อ
1. เครื่องคอมพิวเตอร์
        เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ขายกันท้องตลาดส่วนใหญ่จะสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทั้งสิ้น คุณสมบัติของเครื่อง อย่างน้อยควรเป็น Pentium II ขึ้นไป มีหน่วยความจำไม่ต่ำหว่า 64 Mb
2. โมเด็ม (Modem)
        โมเด็มเป็นอุปกรณ์ในการส่งข้อมูลโดยแปลงสัญญาณ ดิจิตอลพอร์ตอนุกรมเป็นสัญญาณอนาล็อกส่งออกไปตามสายตัวโทรศัพท์และเมื่อถึงโมเด็มปลายทาง ตัวโมเด็มก็จะ แปลงสัญญาณอนาล็อกกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้ง โมเด็มมีให้เลือกใช้งาน 2 แบบ คือ
                2.1 โมเด็มภายนอก (External Modem)  เป็นโมเด็มที่ติดตั้งอยู่ภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งง่าย การทำงานจะมีประสิทธิภาพดี ข้อเสีย คือ มีราคาแพง ซึ่งสามารถติดต่อได้ทั้งพอร์ต Com 1 และพอร์ต Com 2
2.2 โมเด็มภายใน (Internal Medem) เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นการ์ด ข้อดี มีราคาถูก แต่ติดตั้งลำบาก และมีประสิทธิภาพการใช้งานต่ำกว่าโมเด็มภายนอก มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบเหมือนกับการ์ด ทั่วๆไปเหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์พอสมควร เพราะโมเด็มประเภทนี้จะติดตั้งยากและ มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการชนกันระหว่างอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ โมเด็มที่ใช้งานควรมีคุณลักษณะตามมาตรฐาน ดังนี้
        1. ความเร็วไม่น้อยกว่า 56 Kbps
        2. อย่างน้อยต้อง ใช้กับ Protocol v.90
        3. รับ-ส่ง Fax 14.4 Kbps ตามมาตรฐาน v.7 ขึ้นไป
        4. มีมาตรฐานของ v.42 (Correction) และ v.42 bis (Compression)
3. คู่สายโทรศัพท์
         ต้องใช้คู่สายโทรศัพท์ 1 หมายเลขที่ใช้ปกติอยู่ตามบ้านหรือจะเช่าคู่สายโทรศัพท์สำหรับ เชื่อมต่อสัญญาณกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือ ISP เพิ่มก็ได้ เพราะจะได้แยกการใช้โทรศัพท์ธรรมดากับโทรศัพท์ที่ใช้กับเครื่องต่ออินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตามคู่สาย โทรศัพท์ยังมีการให้เลือกใช้อีกหลายระดับซึ่งสามารถเช่าคู่สายเฉพาะที่จะใช้ต่อเชื่อมสำหรับระบบ คอมพิวเตอร์ เช่น สายต่อลีดส์ลาย (Leased Line) สายจากระบบ Data Net และสายแบบ ISDN (Integrated Service Digital Network) เป็นต้น แต่การใช้คู่สายพิเศษดังกล่าวจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้ใน ระดับองค์กรมากกว่าผู้ใช้ทั่วไป
4. ซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานบนอินเทอร์เน็ต
             หมายถึงโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ Internet Explorer, ICQ เป็นต้น
5. Internet Account
        Internet Account คือ บัญชีผู้ใช้ที่แต่ละแห่งอนุญาตให้เจ้าของบัญชีมีสิทธิในการใช้บริการต่างๆ ถ้าเป็นบัญชีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จะหมายถึง ผู้ใช้คนนั้นจะมีชื่อในการล็อกอิน (Login Name, User Name) และรหัสผ่าน (Password) เพื่อเข้าไปใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต เราจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้นเสียก่อน ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP มีอยู่หลายราย แต่ละรายก็มีความเร็วในการใช้งานแตกต่างกันออกไป รวมทั้งราคาค่าบริการการใช้งานก็แตกต่างกันไปด้วยในการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้นั้น เราจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ที่มีอยู่ในเขตจังหวัดนั้นเสียก่อน ซึ่งผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตก็อยู่ด้วยกันหลายราย แต่ละรายก็มีความเร็วในการใช้งานแตกต่างกันไป รวมทั้งราคาการใช้งานก็จะแตกต่างกันเช่นกัน การคิดราคาการใช้งานนั้น โดยส่วนใหญ่จะคิดเป็นรายชั่วโมง ประมาณชั่วโมงละ 15 ถึง 50 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการใช้งาน
กำหนดค่าสำหรับเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
1.             ไปที่ Desktop แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน My Computer
2.             ที่หน้าต่าง My Computer นี้ ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน  Dial-Up Networking
3.             ที่หน้าต่าง Dial-Up Networking ให้คลิกเมาส์ปุ่มขวาที่ไอคอน True Internet หลังจากนั้นเลือก Properties
4.             . ที่หน้าต่าง True Internet นี้ แล้วให้เลือกแท็ป General
ในช่อง Area Code พิมพ์ 02
ในช่องTelephone number
พิมพ์   640-8000 สำหรับสมาชิก และชุด Cool Kit รองรับโมเด็ม 56 K Flex และ 56 K V.90
พิมพ์   640-8001 สำหรับสมาชิก และชุด Cool Kit รองรับโมเด็ม 56 K X2 และ 56 K V.90
พิมพ์   640-8008 สำหรับเครือข่าย Local Net และชุด Local Kit รองรับโมเด็ม  V.90
พิมพ์   640-8088 สำหรับเครือข่าย Cable Modem (เส้นทางส่งกลับใน cable modem หรือReturn path) รองรับโมเด็ม  V.90
พิมพ์   640-8009, 640-8080, 640-8081 สำหรับผู้ใช้ Corporate Fix IP รองรับโมเด็ม  V.90
(สำหรับระบบโทรศัพท์ที่ผู้ใช้ต้องกด 9 เพื่อโทรออกไปนอกหน่วยงาน  คุณต้องพิมพ์ 9 นำหน้าหมายเลขที่คุณต้องการโทรออก)
ในช่อง Country code        เลือก Thailand (66)
ในช่อง Connect using      ควรเป็นชื่ออุปกรณ์โมเด็มของคุณ
หลังจากนั้นคลิกที่ปุ่ม [Configure…]
5. ที่หน้าต่าง Modem Properties เลือกแท็ป General
ตรวจดูที่ช่อง Port   จะต้องเป็น Port เดียวกับที่คุณต่อโมเด็มไว้
ตรวจดูที่ช่อง Maximum speed คุณต้องเลือกความเร็วให้เหมาะสมกับโมเด็มของคุณ
6. ที่หน้าต่าง Modem Properties เลือกแท็ป Options
จากนั้นทำเครื่องหมายที่ช่อง “Display Modem Status” หลังจากนั้นคลิกที่ปุ่ม [OK]
7. ที่หน้าต่าง True Internet เลือกแท็ป Server Types
ในช่อง Type of Dial-Up Server ให้เลือกข้อความดังนี้ PPP: Internet, Window NT server, Windows 95/98
ในช่อง Advanced options  ให้คุณทำเครื่องหมายที่ช่อง Enable software compression
ในช่อง Allowed network protocols ให้คุณทำเครื่องหมายที่ช่อง TCP/IP หลังจากนั้นคลิกที่ปุ่ม [TCP/IP settings]
8. ที่หน้าต่าง TCP/IP settings
ทำเครื่องหมายที่ช่อง “Server assigned IP address”
ทำเครื่องหมายที่ช่อง “Specify name server addresses”
ในช่อง    Primary DNS                 พิมพ์      203.144.207.29
ในช่อง    Secondary DNS          พิมพ์      203.144.207.49
ทำเครื่องหมายที่ช่อง “Use IP header compression”
ทำเครื่องหมายที่ช่อง “Use default gateway on remote network”
หลังจากนั้นคลิกที่ปุ่ม [OK] ไปทุกครั้งจนกว่าคุณจะออกไปสู่หน้าต่าง The Internet Properties
9. ที่หน้าต่าง Dial-Up Networking นี้ ให้คุณดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน True Internet
การหมุนโทรศัพท์ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
G-Dial Up Service คืออะไร
บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับองค์กรที่มีการใช้งานไม่มาก หรือไม่ต้องการการเชื่อมต่อตลอด 24 ชั่วโมง และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับหน่วยงานที่มีงบประมาณจำกัด เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาคอยดูแลรักษาระบบ เพียงท่านหมุนโทรศัพท์(Dial Up)ผ่านโมเด็ม มายังจุดให้บริการของสบทร. ที่มีอยู่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ ก็จะสามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ต และเชื่อมต่อไปยังหน่วยงานย่อยต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย
ลักษณะเด่น / ประโยชน์ของบริการ
Coverage : จุดให้บริการครบ 76 จังหวัดทั่วไทย ท่านจึงเสียค่าโทรศัพท์เพียง 3 บาททั่วประเทศ

G-mail : ฟรี บริการ Email Address ฟรี ให้กับ user ทุกคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น