วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทที่2 เครือข่ายบุคคล



เครือข่ายบุคคล

PAN คือ "ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN)คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร หลาย ก็เช่น• Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a• Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1• Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง(peripherals) ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอที่มีความละเอียดภาพสูง (high-definition video signal) ได้ด้วยPersonal Area Network (PAN)ช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างหลากหลายคิดค้นโดยนักวิจัยของ MIT รวมกับIBM โดยจะสร้างกระแสไฟฟ้าแรงต่ำ (ระดับพิโคแอมป ) ออกไปตามผิวหนังโดยเครื่องรับสัญญาณตามจุดต่างๆ ของร่างกายสามารถรับสัญญาณได้ เทคโนโลยีนี้จะเหมาะกับการใช้งานทางการแพทย์ เพราะอุปกรณ์ โดยมากจะมีการติดตั้งตามลำตัวมนุษย์พัฒนาโดย Bluetooth Special Interest Group (http://www.bluetooth.com/) เริ่มก่อตั้งในปี 1998 ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง Ericsson, IBM, Intel, Nokia และ Toshiba ซึ่ง Bluetooth (บลูทูธ) การสื่อสารระยะสั้น (Short-range Transmission) ที่ติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอล โดยสามารถส่งและติดต่อข้อมูลแบบ Voice และ Data ระหว่างอุปกรณ์ที่เป็นคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือต่างๆ (PC, Laptop, PDA, Mobile phone ฯลฯ) โดยการติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ทั้งแบบ point-to-point และ Multi-pointข้อดี-ข้อเสียของ Personal Area Network (PAN)ข้อดีคือ1. สะดวกต่อการใช้งาน2. สามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว3. มีการรับรองเครือข่าย4. สามารถนำอุปกรณ์ต่างๆมาใช้ร่วมกันได้ข้อเสีย คือ1. สื่อสารได้ไม่เกิน 1 เมตร2. การส่งข้อมูลอาจเกิดข้อผิดพลาดได้3. ติดไวรัสได้ง่าย4. ราคาแพงประโยชน์และการนำมาประยุกต์ใช้จากการที่กลุ่มของเราได้ศึกษาเกี่ยวกับ Personal Area Network (PAN) กลุ่มของเราได้รวบรวมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันที่ จะประดิษฐ์ แว่นตาที่สามารถส่งสัญญาณผ่านเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว โดยการประมวลภาพจากสิ่งที่เห็น แล้วแปลงเป็นคลื่นสัญญาณส่งผ่านข้อมูลไปยังเครื่องรับข้อมูลกลาง แล้ว
เครื่องรับข้อมูลกลางก็จัดส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับตัวอื่นๆด้วย

เครือข่ายภายใน

LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น
เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก     อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น  ภายในมหาวิทยาลัย  อาคารสำนักงาน  คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น  การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน

เครือข่ายเขตเมือง

MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง
เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร   เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล

เครือข่ายวงกว้าง

เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย ( Topologies )

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายหรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า โทโพโลยี เป็นลักษณะทั่วไปที่กล่าวถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทางกายภาพว่ามีรูปแบบหน้าตาอย่างไร เพื่อให้สามารถสื่อสารร่วมกันได้และด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่นจะมีรูปแบบของโทโพโลยีหลายแบบด้วยกัน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจแต่ละโทโพโลยีว่ามีความคล้ายคลึง หรือแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละโทโพโลยี และโดยปกติโทโพโลยีที่นิยมใช้กันบนเครือข่ายท้องถิ่นจะมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ

-โทโพโลยีแบบบัส
-โทโพโลยีแบบดาว
-โทโพโลยีแบบวงแหวน

1.แบบบัส ( BUS Topology ) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS ทีปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Teminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย

-ข้อดี ของการเชื่อแบบบัส คือ
สามารถติดตั้งได้ง่าย เนื่องจากเป็นโครงสร้างเครือข่ายที่ไม่ซับซ้อน
การเดินสายเพื่อต่อใช้งาน สามารถทำได้ง่าย
ประหยัดค่าใช้จ่าย กล่าวคือ ใช้สายส่งข้อมูลน้อยกว่า เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับสายหลักได้ทันที
ง่ายต่อการเพิ่มสถานีใหม่เข้าไปในระบบ โดยสถานีนี้สามารถใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้
-ข้อเสียของการเชื่อแบบบัส คือ
1. ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดไปจากสถานีใดสถานีหนึ่ง ก็จะทำให้ระบบเครือข่ายนี้หยุดการทำงานลงทันที
2. ถ้าระบบเกิดข้อผิดพลาดจะหาข้อผิดพกลาดได้ยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่
2. แบบดาว ( Star topology ) เป็นการเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่าง ๆ ออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่า File Server แต่ละสถานีจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกัน เมื่อสถานีใดเกิดความเสียหายจะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่น ๆ ปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ HUB เป็นตัวเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง
-ข้อดีของการเชื่อมแบบดาว คือ ง่ายต่อการใช้บริการ เพราะมีศูนย์กลางอยู่ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายอยู่เครื่องเดียวและเมื่อเกิดความเสียหายที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก็จะไม่มีผลกระทบอันใดเพราะใช้สายคนละเส้น
-ข้อเสียของการเชื่อมแบบดาว คือ ต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก เพราะแต่ละสถานีมีสายสัญญาณของตนเองเชื่อมต่อกับศูนย์กลางจึงเหมาะสมกับเครือข่ายระยะใกล้มาก กว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล การขยายระบบก็ยุ่งยากเพราะต้องเชื่อมต่อสายจากศูนย์กลางออกมา ถ้าศูนย์กลางเสียหายระบบจะใช้การไม่ได้
3. แบบวงแหวน ( Ring Topology ) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถาน สุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป
-ข้อดีของการเชื่อมแบบวงแหวน คือ ใช้สายสัญญาณน้อยกว่าแบบดาว เหมาะกับการเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณใยแก้วนำแสง เพราะส่งข้อมูลทางเดียวกันด้วยความเร็วสูง
-ข้อเสียของการเชื่อมแบบวงแหวน คือ ถ้าสถานีใดเสียระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้จนกว่าจะแก้ไขจุดเสียนั้น และยากในการตรวจสอบว่ามีปัญหาที่จุดใดและถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไปจะพกหระทำได้ยากด้วย

ประเภทของเครือข่ายแลน

 ระบบเครือข่าย LAN ถ้าหากแบ่งตามประเภทของเครื่องที่นำมาเชื่อมต่อกันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆได้แก่
1.Peer-to-Peer Network หรือเครือข่ายแบบเท่าเทียม
        เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง จะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะที่ทัดเทียมกัน ไม่มีเครื่องใดเครื่องเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลักเหมือนแบบ Client / Server แต่ก็ยังคงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบเครือข่ายไว้เหมือนเดิม การเชื่อมต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไม่เกิน 10 เครื่อง การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดอ่อนในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก และเป็นงานที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นความลับมากนัก เครือข่ายแบบนี้ ก็เป็นรูปแบบที่น่าเลือกนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี

2.Client-Server Networkหรือเครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
          เป็น ระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ เครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ ซึ่งอาจจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ถึงจะทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client - Server เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ระบบแบบ Peer To Peer เพราะว่าการจัดการในด้านรักษาความปลอดภัยนั้น จะทำกันบนเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว ทำให้ดูแลรักษาง่าย และสะดวก มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้บริการ หรือเครื่องClient

การสร้างเครือข่ายแลน

อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ LAN
          ในระบบ LAN อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงนั้นมีไม่มากนัก เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เพื่อต่อเชื่อมโยงเครือข่ายเท่านั้น ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ LAN จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 อย่างโดยทั่วๆ ไปดังนี้

             สายนำสัญญาณ
          สายนำสัญญาณ นับถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบเครือข่ายที่ทำให้ คอมพิวเตอร์ มีการติดต่อสื่อสารกันในระยะทางที่ไกล สายนำสัญญาณ นั้นมีหลายชนิด มากมายในปัจจุบัน สามารถจำแนกได้ตามคุณสมบัติของสาย สภาพการใช้งาน และความเหมาะสมการใช้งาน สายนำสัญญาณที่ใช้ในระบบ LAN นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นลักษณะต่างๆ คือ สายสัญญาณแบบคู่บิดเกลียว ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกเป็นชนิด UTP (Unshield Twisted Pair) เป็นสายคู่บิดเกลียว 4 คู่ใช้ยาวไม่เกิน 100 เมตร สายที่ใช้ แบคโบน นั้น เป็นสายขนาด 25 คู่สายในมัดเดียว รองรับการสื่อสารได้สูงถึง 100 Mbps และ ประเภทที่ 2 ชนิด STP (Shield Twisted Piar) เป็นสายพัฒนามาจากสาย UTP โดยมีชีลด์ห่อหุ้มภายนอก ใช้ข้อมูลการสื่อสารได้ 100 Mbps สาย STP ที่เป็นแบคโบน นี้เป็นสายที่ออกแบบมาให้ไปได้ระยะทางที่ไกลขึ้น สายโคแอกเชียล เป็นอีกประเภทหนึ่งที่ใช้กันมากเป็นสายนำสัญญาญที่ป้องกันสัญญาณรบกวนได้มากทีเดียว สายชนิดนี้ในระบบบัส และใช้เดินระยะใกล้ๆ และ เส้นใยแก้วนำแสง เป็นสายที่ใช้คลื่นแสง 500 nM-1300nM ส่งผ่านไปยังตัวกลางใยแก้ว ซึ่งจะสะท้อนกลับภายใน ทำให้มีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก ทำให้ได้ระยะทางที่ไกลขึ้นขณะที่ใช้กำลังส่งที่น้อยและมีสัญญาณรบกวนที่น้อย มาก เมื่อเทียบกับ สายนำสัญญาณชนิดอื่นๆ สายชนิดเส้นใยแก้วนำแสงนี้มักใช้เป็นแบคโบน โดยจะรองรับการสื่อสารได้สูงถึง 800 Mbps หรือมากกว่า แล้วแต่ล่ะชนิดที่นำมาใช้

 อุปกรณ์ที่ใช้ต่อระหว่างเครือข่าย
          อุปกรณ์ที่ใช้ต่อระหว่างเครือข่ายนั้นมีด้วยกันมากมาย ด้วยคุณลักษณะของการใช้งาน แบบต่างๆ และยังคงได้รับการพัฒนาขึ้นอยู่ตลอดเวลา อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ LAN นั้นได้ยกตัวอย่างที่ พบกันมากดังต่อไปนี้ แผ่นการ์ดเครือข่าย เป็นแผ่นอินเตอร์เฟสสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือแผ่นการ์ด NIC มีคุณสมบัติต่างที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครือข่าย และชนิดของคอมพิวเตอร์ อีกด้วย ฮับ (HUP) เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงระหว่างสายตามมาตรฐาน 802.3 นั้นใช้เชื่อมโยงในโทโปโลยี แบบสตาร์ ใช้สาย UTP ยาวไม่เกิน 100 เมตร และยังสามารถขยาย PORT ได้มาก ดีรอมเซิร์ฟเวอร์ (CD-ROM Server) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในเครือข่ายเช่นเดียวกัน เพื่อใช้แบ่งปันการใช้ข้อมูลต่างๆ ใน CD-ROM เอง รีพีตเตอร์ (Repeater)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อระหว่างเครือข่าย เพื่อช่วยให้ขยายสัญญาณให้สูงขึ้น ทำให้ส่งข้อมูลหรือสื่อสาร ข้อมูลได้ไกลขึ้นนั้นเอง บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อระหว่างระบบ โดยที่ บริดจ์ มีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกันคือแบบ Internal Bridge และแบบ External Bridge เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานคล้ายกัย Bridge แต่จะใช้เชื่อมต่อกับระบบที่ใหญ่กว่ามีประสิทธิภาพที่สูงกว่า และความเร็วที่สูงกว่า และ เราเตอร์ (Router) เป็นอีกอุปกรณ์หนึ่งที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย ที่มีมากกว่า หนึ่งเซกเมนต์ เพื่อกำหนดเส้นทางข้อมูลได้มากขึ้น

ระบบเครือข่ายไร้สาย

          ระบบเครือข่ายไร้สาย หรือ ระบบเครือข่ายแบบ Wireless LAN หรือ WLAN  เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายแบบไร้สาย (ไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล) เหมาะสำหรับการติดตั้งในสถานที่ที่ไม่สะดวกในการเดินสาย หรือในสถานที่ที่ต้องการความสวยงาม เรียบร้อย และเป็นระเบียบ เช่น สนามบิน โรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น

หลักการทำงานของระบบ Wireless LAN
          การทำงานจะมีอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณ และกระจายสัญญาณ หรือที่เราเรียกว่า Access Point และมี PC Card ที่เป็น LAN card สำหรับในการเชื่อมกับ access point โดยเฉพาะ การทำงานจะใช้คลื่นวิทยุเป็นการรับส่งสัญญาณ โดยมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 2.4 to 2.4897 Ghz และสามารถเลือก config ใน Wireless Lan (ภายในระบบเครือข่าย Wireless Lan ควรเลือกช่องสัญญาณเดียวกัน)

ระยะทางการเชื่อมต่อของระบบ Wireless LAN
          ภายในอาคาร
          1. ระยะ 50 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps
          2. ระยะ 80 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps
          3. ระยะ 120 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps
          4. ระยะ 150 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps
          ภายนอกอาคาร
          1.ระยะ 250 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps
          2. ระยะ 350 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps
          3. ระยะ 400 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps
          4. ระยะ 500 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps

การเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย Wireless LAN มี 2 ลักษณะ ดังนี้
          1. การเชื่อมโยงระบบแบบ Ad-hoc (Peer to Peer)
          โครงสร้างการเชื่อมโยงระบบแบบ Ad-hoc หรือ Peer to Peer เป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป โดยที่ไม่มีศูนย์กลางควบคุมอุปกรณ์ทุกเครื่องสามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้เอง ตัวส่งจะใช้วิธีการแพร่กระจายคลื่นออกไปในทุกทิศทุกทางโดยไม่ทราบจุดหมายปลายทางของตัวรับว่าอยู่ที่ใด ซึ่งตัวรับจะต้องอยู่ในขอบเขตพื้นที่ให้บริการที่คลื่นสามารถเดินทางมาถึงแล้วคอยเช็คข้อมูลว่าใช่ของตน หรือไม่ ด้วยการตรวจสอบค่า Mac Address ผู้รับปลายทางในเฟรมข้อมูลที่แพร่กระจายออกมา ถ้าใช่ข้อมูลของตนก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปประมวลผลต่อไป
การเชื่อมโยงเครือข่ายไวร์เลสแลนที่ใช้โครงสร้างการเชื่อมโยงแบบ Ad-hoc ไม่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเครือข่ายอีเธอร์เน็ตได้ เนื่องจากบนระบบไม่มีการใช้สัญญาณเลย
          2. การเชื่อมโยงระบบแบบ Infrastructure (Client/Server)
          โครงสร้างการเชื่อมโยงระบบแบบ Infrastructure หรือ Client / Server มีข้อพิเศษกว่าระบบแบบ Ad-hoc ตรงที่มีแอ็กเซสพอยน์เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยง (ทำหน้าที่คล้ายฮับ) และเป็นสะพานเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายอุปกรณ์ไวร์เลสแลนเข้าสู่เคลือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนหลัก (Ethernet Backbone) รวมถึงการควบคุมการสื่อสารข้อมูลอุปกรณ์ไวร์เลสแลน

อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Wireless LAN
          1. แลนการ์ดไร้สาย (Wireless LAN Card)
          ทำหน้าที่ในการ แปลงข้อมูล ดิจิตอล ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นคลื่นวิทยุแล้วส่งผ่านสายอากาศให้กระจายออกไป และทำหน้าที่ในการรับเอาคลื่นวิทยุที่แพร่กระจายแปลงเป็น ข้อมูลดิจิตอล ส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผล Wireless LAN ที่ผลิตออกมาจำหน่าย มีหลายรูปแบบแบ่งตามลักษณะช่องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้
- แลนการ์ดแบบ PCI
- แลนการ์ดแบบ PCMCIA
- แลนการ์ดแบบ USB
- แลนการ์ดแบบ Compact Flash (CF)
          2. อุปกรณ์เข้าใช้งานเครือข่าย (Wireless Access Point)
          ทำหน้าที่เสมือน ฮับ เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ไวร์เลสแลนแบบต่าง ๆเข้าด้วยกัน อีกทั้งเป็นสะพานเชื่อมต่อ เครื่องไวร์เลสแลนเข้ากับเครื่องอีเธอร์เนตทำให้ระบบทั้งสองสามารถสื่อสารกันได้
          3. สะพานเชื่อมโยงไร้สาย (Wireless Bridge)
          ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระบบ เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนตั้งแต่สองระบบขึ้นไปเข้าด้วยกันแทนการใช้สายสัญญาณ ข้อมูลที่สื่อสารระหว่างเครือข่ายอีเธอร์เน็ตจะถูกแปลงเป็นคลื่นวิทยุแล้วถูกแปลงไปยังปลายทาง
          4. Wireless Broadband Router
          ทำหน้าที่ในการต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านคู่สายโทรศัพท์ (ADSL) หรือ เคเบิลทีวี (UBC) ด้วยเทคโนโลยี Broadband Router ซึ่งมีฟังชันการทำงานเป็นตัวค้นหาเส้นทาง, NAT (Network Address Translation) , Firewall , VPN ๆลๆ มาผสมผสานเข้ากับ Access Point ทำให้ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายสามารถสื่อสารข้อมูลไปยังระบบอินเทอร์เน็ต
          5. Wireless Print Server
          อุปกรณ์การแชร์เครื่องพิมพ์บนระบบเครือข่าย Wireless LAN
          6. Power Over Ethernet Adapter
          ทำหน้าที่แยกสาย UTP ที่มีสายทองแดงตีเกลียวอยู่ข้างใน 4 คู่โดยสายทองแดงสำหรับใช้สื่อสารข้อมูลใช้เพียง 2 คู่เท่านั้น ส่วนสายทองแดงอีก 2 คู่สามารถใช้อุปกรณ์ตัวนี้นำมาใช้เป็นเส้นทางสำหรับส่งแรงดันไฟฟ้าไปให้กับตัว Access Point ได้
          7. สายอากาศ (Antenna)
          ทำหน้าที่เปลี่ยนข้อมูลในรูปของกระแสไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากภาคส่งของอุปกรณ์ไวร์เลสแลนให้กลายเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายออกไปในอากาศและสายอากาศยังทำหน้าที่รับเอาคลื่นที่อุปกรณ์ไวร์เลสแลนเครื่องอื่น ๆ ส่งออกมาแปลงกลับให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้าส่งให้ภาครับต่อไป

ประโยชน์ของระบบ Wireless LAN
          1. สะดวกในการเคลื่อนย้าย ติดตั้ง เนื่องจาก WLAN ไม่จำเป็นต้องมีสายเคเบิ้ลในการต่อพ่วง
          2. ง่ายในการติดตั้ง เพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล
          3. ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องจำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา ในระยะยาว
          4. สามารถขยายเครือข่ายได้ไม่จำกัด
ข้อเสียของระบบ Wireless LAN
          1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น
          2. มีสัญญาณรบกวนสูง
          3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
          4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้มีปัญหาในการใช้งานร่วมกัน
          5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย

          6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น