วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 8 โปรโตคอลต่างๆ

บทที่ 8 โปรโตคอลต่างๆ

โปรโตคอลและการจับมือ
TCP/IP (Transmitsion Control Protocol/Internet Protocol) เป็นชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าในระหว่างทางอาจจะผ่านเครือข่ายที่มีปัญหา โปรโตคอลก็ยังคงหาเส้นทางอื่นในการส่งผ่านข้อมูลไปให้ถึงปลายทางได้
ชุดโปรโตคอลนี้ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี 1960 ซึ่งถูกใช้เป็นครั้งแรกในเครือข่าย ARPANET ซึ่งต่อมาได้ขยายการเชื่อมต่อไปทั่วโลก
เป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ TCP/IP เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน

TCP/IP Protocol
TCP/IP มีจุดประสงค์ของการสื่อสารตามมาตรฐาน สามประการคือ
1. เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างระบบที่มีความแตกต่างกัน
2. ความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย เช่นในกรณีที่ผู้ส่งและผู้รับยังคงมีการติดต่อกันอยู่ แต่โหนดกลางทีใช้เป็นผู้ช่วยรับ-ส่งเกิดเสียหายใช้การไม่ได้ หรือสายสื่อสารบางช่วงถูกตัดขาด กฎการสื่อสารนี้จะต้องสามารถจัดหาทางเลือกอื่นเพื่อทำให้การสื่อสารดำเนินต่อไปได้โดยอัตโนมัติ
3. มีความคล่องตัวต่อการสื่อสารข้อมูลได้หลายชนิดทั้งแบบที่ไม่มีความเร่งด่วน เช่น การจัดส่งแฟ้มข้อมูล และแบบที่ต้องการรับประกันความเร่งด่วนของข้อมูล เช่น การสื่อสารแบบ real-time และทั้งการสื่อสารแบบเสียง (Voice) และข้อมูล (data)

UDP : (User Datagram Protocol)
เป็นโปรโตคอลที่อยู่ใน Transport Layer เมื่อเทียบกับโมเดล OSI โดยการส่งข้อมูลของ UDP นั้นจะเป็นการส่งครั้งละ 1 ชุดข้อมูล เรียกว่า UDP datagram ซึ่งจะไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างดาต้าแกรมและจะไม่มีกลไกการตรวจสอบความสำเร็จในการรับส่งข้อมูล
กลไกการตรวจสอบโดย checksum ของ UDP นั้นเพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลที่อาจจะถูกแก้ไข หรือมีความผิดพลาดระหว่างการส่ง และหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ปลายทางจะได้รู้ว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น แต่มันจะเป็นการตรวจสอบเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น โดยในข้อกำหนดของ UDP หากพบว่า Checksum Error ก็ให้ผู้รับปลายทางทำการทิ้งข้อมูลนั้น แต่จะไม่มีการแจ้งกลับไปยังผู้ส่งแต่อย่างใด การรับส่งข้อมูลแต่ละครั้งหากเกิดข้อผิดพลาดในระดับ IP เช่น ส่งไม่ถึง, หมดเวลา ผู้ส่งจะได้รับ Error Message จากระดับ IP เป็น ICMP Error Message แต่เมื่อข้อมูลส่งถึงปลายทางถูกต้อง แต่เกิดข้อผิดพลาดในส่วนของ UDP เอง จะไม่มีการยืนยัน หรือแจ้งให้ผู้ส่งทราบแต่อย่างใด

IPX/SPX Protocal
Protocol คือ ระเบียบวิธีการที่กำหนดขึ้นสำหรับสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง ซึ่งมีการออกแบบโปรโตคอลอื่น ๆ ขึ้นมาใช้งานอีกมาก เช่น โปรโตคอล IPX/SPX, NetBEUI และ  Apple Talk
    โปรโตคอล IPX/SPX พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Novell แบ่งออกเป็นโปรโตคอลหลัก 2 โปรโตคอล คือ Internetwork Packet Exchange(IPX) และ Sequenced Packet Exchange(SPX) โดยโปรโตคอล IPX ทำหน้าที่ในระดับ network layer ตามมาตรฐาน OSI Model มีกลไกในการส่งข้อมูลแบบ connectionless, unreliable หมายความว่า เมื่อมีการส่งข้อมูลโดยไม่ต้องทำการสถาปนาการเชื่อมต่อกันระหว่าง host กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกันอย่างถาวร และไม่ต้องการรอสัญญาณยืนยันการรับข้อมูลจากปลายทางโดยตัวโปรโตคอลจะพยายามส่งข้อมูลนั้นไปยังปลายทางให้ดีที่สุด สำหรับโปรโตคอล SPX ทำหน้าที่ในระดับ transport layer ตามมาตรฐาน OSI Model โดยส่งผ่านข้อมูลในแบบตรงข้ามกับโปรโตคอล IPX คือ  ต้องมีการทำการสถาปนาการเชื่อมโยงกันก่อน และมีการส่งผ่านข้อมูลที่เชื่อถือได้ ด้วยการตรวจสัญญาณยืนยันการรับส่งข้อมูลจากปลายทาง

NetBEUI คืออะไร
          NetBEUI (NetBIOS Extended User Interface) เป็นโปรแกรมที่ให้คอมพิวเตอร์ติดต่อภายในเครือข่าย ซึ่ง NetBEUI เป็นเวอร์ชันส่วนขยายของ NetBIOS โดยโปรแกรมที่มี Frame format (การจัดการสารสนเทศในการส่งข้อมูล) ที่ไม่ได้ระบุด้วย NetBIOS การพัฒนา NetBEUI ทำโดย IBM สำหรับใช้กับผลิตภัณฑ์ประเภท LAN manager และมีการปรับปรุงโดย Microsoft สำหรับ Windows NT, LAN manager และ Window for Workgroups
NetBEUI มีการทำงานที่ดีมาก สำหรับการติดต่อภายในระบบ LAN เดี่ยว แต่ไม่สนับสนุนระบบ Routing กับเครือข่ายอื่น ถ้าต้องการปรับปรุงการอินเตอร์เฟซต้องใช้โปรโตคอลตัวอื่น เช่น Internetwork Pocket Exchange หรือ TCP/IP จึงมีการแนะนำวิธีติดตั้ง NetBEUI และ TCP/IP ในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง และตั้งค่าบนเครื่องแม่ข่ายให้ใช้ NetBEUI ในการติดต่อภายใน LAN และ TCP/IP สำหรับการติดต่อนอกเหนือจาก LAN

NetBIOS
ผู้ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่คงเคยได้ยินเรื่องราวของ NetBIOS กันมาบ้าง หลายคนอาจจะเกิดความสับสน ไม่เว้นแม้แต่ผู้ดูแลระบบเครือข่ายขององค์กรเอง เหตุผลหนึ่งอาจจะเป็นเพราะมีศัพท์ที่เกี่ยวข้องมากมาย เช่น NetBIOS, NetBEUI,CIFS, SMB เหล่านี้ล้วนแต่สร้างความสับสนตั้งแต่ยังไม่เริ่มศึกษา และอีกเหตุผลหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ามีการนำ NetBIOS ไปใช้อย่างหลากหลายแต่ขาดมาตรฐานควบคุมที่ดี อย่างไรก็ตาม หากกล่าวถึงเรื่องความปลอดภัยบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ก็จำเป็นต้องอ้างถึงเรื่องของ NetBIOS อย่างแน่นอน เอกสารฉบับนี้จะให้ความกระจ่างตั้งแต่ประวัติความเป็นมาและการนำ NetBIOS ไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การทำงานของ NetBIOS  ของโปรโตคอลรุ่นเก่าอย่าง NetBEUI จนกระทั่งการทำงานของ NetBIOS บน IP network ซึ่งใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยจะเน้นไปที่การนำ NetBIOS over TCP/IP มาใช้ในระบบปฏิบัติการของ Microsoft เอกสารฉบับนี้เหมาะสำหรับผู้ดูแลระบบเครือข่ายที่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครือข่ายมาบ้างแล้วโดยเฉพาะความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ TCP/IP network

    RARP
 (Reverse Address Resolection Protocol) เป็นโปรโตคอล ซึ่งเครื่องทางกายภาพ ในเครือข่าย LAN สามารถขอเรียนรู้ IP Address จากเครื่องแม่ข่าย gateway หรือตาราง Address Resolution Protocol ผู้บริหารเครือข่ายสร้างตารางใน gateway router ของเครือข่าย LAN ที่ใช้จับคู่ address ของเครื่องทางกายภาพ (หรือ Media Access Control address) ที่ตรงกับ Internet Protocol address เมื่อมีการติดตั้งเครื่องใหม่ โปรแกรมลูกข่ายของ RARP จะขอ RARP server จาก routerให้ส่ง IP address มาให้ สมมติว่ามีการตั้งค่าในตาราง router แล้ว RARP server จะส่งกลับ IP address ไปที่เครื่องซึ่งจะเก็บไว้สำหรับการใช้ต่อไป

RARP มีให้กับเครือข่าย LAN แบบ Ethernet, Fiber Distributed-Data Interface และ Token ring

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น