วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทที่4 OSI Model


บทที่4 OSI Model

OSI Model

        OSI Model เป็น medel มาตรฐานในการสื่อสารซึ่งมีวัตถุประสงค์ ใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างระบบ 2 ระบบ ระบบจะเปิดการติดต่อสื่อสารในเค้าโครงสำหรับออกแบบ
ระบบเครื่อข่าย จะอนุญาตให้สื่อสารข้ามทุกรูปแบบของระบบคอมพิวเตอร์แยกเป็น 7 ชั้นแต่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นรูปแบบมาตรฐาน ISO

ชั้นฟิสิคอล
        Physical Layer เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร (Transmission) ทำหน้าที่ จัดการเชื่อมต่อ และ การส่งสัญญาณทางไฟฟ้า จากผู้ส่ง ไปยังผู้รับ โดยผ่านสื่อกลาง เช่น สายทองแดง คลื่นวิทยุ สายคู่ตีเกลียว และใยแก้วนำแสงเป็นต้น โดยสัญญาณที่ผ่านอาจเป็นสัญญาณไฟฟ้า สัญญาณคลื่นวิทยุ หรือสัญญาณแสง   ซึ่งในชั้นนี้จะสนใจ พิจารณาการส่งข้อมูลเป็น Bit 0 และ 1 จากต้นทาง ไปให้ถึงปลายทาง   โวลต์ที่จะใช้แทน Bit 0 และความยาวของแต่ละบิต (microsecond) โดยสร้างสภาวะให้ทราบได้ว่า สภาวะที่กำหนดขึ้น คือจุดเริ่มต้น ของการส่งผ่านข้อมูล หรือสิ้นสุด การส่งผ่านข้อมูล และต้องมีการกำหนดมาตรฐานขึ้นมาว่าปลั้กที่ใช้เสียบ เพื่อเชื่อมโยงเน็ตเวิร์ค จะต้องมีกี่ขา ในบางกรณีที่ต้องการ ส่งผ่านข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะรวมหลายช่องทางการสื่อสาร เข้าด้วยกัน ซึ่งกรณีนี้ ระดับการเชื่อมโยงทางกายภาพ จะมองช่องทางหลายๆ ช่องทาง ที่รวมเข้าด้วยกัน เหมือนช่องทางเดียว ซึ่ง Protocol ในระดับสูงขึ้นไป จะช่วยทำหน้าที่นี้ ดังนั้น การออกแบบ จึงต้องพิจารณาครอบคลุม ไปถึงกลไกทางด้านกำลังไฟฟ้า และส่วนที่ต่อเชื่อมกัน เป็นเน็ตเวิร์คย่อยด้วย

ชั้นดาต้าลิงค์
       ดาต้าลิงก์เลเยอร์ ทำหน้าที่ควบคุมสายข้อมูล ระหว่างระบบ กับปลายทางอีกด้านหนึ่ง โดยการรวมตัวอักขระ เข้าด้วยกัน เป็นข่าวสาร แล้วตรวจสอบ ก่อนที่จะส่งลงไปในสายสัญญาณ ดาต้าลิงก์เลเยอร์ทำหน้าที่ คล้ายผู้ควบคุม การจัดเรียง และสับเปลี่ยนตู้รถไฟของขบวนรถไฟ ก่อนจะออกจากสถานี   และที่สถานีปลายทาง จะทำหน้าที่แจ้งว่าข้อมูลมาถึงอย่างปลอดภัยหรือไม่ ถ้าข้อมูลเสียหาย จะแจ้งขอให้สถานีต้นทาง ส่งข่าวสารมาใหม่

ชั้นเน็ตเวิร์ก
        Network Layer ทำหน้าที่เลือกเส้นทางการส่งผ่านข้อมูล โดย เป็นผู้ตัดสินใจว่าเส้นทางใด ที่ควรส่งข้อมูลไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สภาพของเครือข่าย ลำดับความสำคัญของบริการ และปัจจัยอื่นๆ ซอฟต์แวร์ในเน็ตเวิร์กเลเยอร์ มักจะอยู่ในส่วนของชุมสาย ในเครือข่าย 

ชั้นทรานสปอร์ต
  Transport Layer   ทำหน้าที่หลายอย่างเหมือน Network Layer ควบคุมคุณภาพ ของข้อมูลที่ได้รับ ให้ถูกต้องทั้งรูปแบบ และลำดับ ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น ในระบบเครือข่าย และ ถ้าเครือข่ายล้มเหลว ซอฟต์แวร์ใน Transport Layer จะมองหาเส้นทางอื่น ที่จะสามารถไปยังปลายทาง หรืออาจจัดเก็บข้อมูลที่ส่งไว้จนกระทั่งการเชื่อมต่อของเครือข่าย ถูกสร้างขึ้นใหม่

ชั้นสื่อสารเซสชั่น
ทาหน้าที่ควบคุมการสื่อสาร การจัดการแลกเปลี่ยนข่าวสารที่เกิดขึ้นระหว่างโฮสต์ ซึ่งอาจโต้ตอบกันแบบ Simplex, Haft-duplexหรือ Full-Duplexโดยการสื่อสารที่กาลังดำเนินการอยู่ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง เรียกว่า เซสชั่น ซึ่งหลายๆ เซสชั่นอาจเกิดจากการทำงานของคนเพียงคนเดียว หรือหลายคนก็ได้ เช่น การสนทนา
1.       การควบคุมไดอะล็อก (Dialog Control)ชั้นสื่อสารเซสชั่นอนุญาตให้สองระบบแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการสื่อสาร โดยจะมีขั้นตอนเริ่มต้นด้วยการเปิดเซสชั่นเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งยุติการสื่อสารด้วยการยกเลิกเซสชั่นนั้นๆ ซึ่งโปรเซสสามารถโต้ตอบกันในรูปแบบ Half-duplex (ผลัดกันรับส่งข้อมูล) หรือ Full-duplex (รับและส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน)
2.       การซิงโครไนซ์(Synchronization)เนื่องจากการสื่อสารภายในเซสชั่นสามารถเกิดความล้มเหลวได้ เมื่อเกิดขึ้นจะต้องมีการเปิดเซสชั่นเพื่อสื่อสารกันรอบใหม่ ดังนั้นชั้นสื่อสารเซสชั่นจึงอนุญาตให้โปรเซสสามารถเพิ่มจุดตรวจสอบ (Check Point) เข้าไปพร้อมกับข้อมูลที่ส่ง เช่น การแทรกจุดตรวจสอบในทุกๆ 100 หน้าของการส่งไฟล์ 2000 หน้า

ชั้นพรีเซนสเตชั่น
Presentation Layer   มีหน้าที่ในการจัดการเข้ารหัส และการจัดรูปแบบการป้อนข้อมูลพิเศษ   อักษรกระพริบ ตัวอักษรกลับสี มีการจัดการ เข้ารหัสการจัดรูปแบบไฟล์พิเศษ ควบคุม Syntax ของข้อมูลที่ส่งเข้า ส่งออก เช่นการเปลี่ยนจากรหัส EBCDIC เป็น ASCII เป็นต้น โดยจัดรูปแบบของจอภาพ และไฟล์ เพื่อให้ผลขั้นสุดท้าย มีลักษณะ ตรงตามความตั้งใจ ของนักเขียนโปรแกรม

ชั้นแอพพลิเคชั่น

        ใน Layer นี้ จะครอบคลุมถึงระดับผู้ใช้   ที่จะประยุกต์ใช้งานของแต่ละคน เช่น เมื่อมีผู้ใช้สองคน จัดทำโปรแกรมบนเครื่องที่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองฝ่าย ก็สามารถที่จะ กำหนดส่วนของข้อความ ที่จะมีผลต่อการกระทำระหว่างกันและกัน ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า ผู้ใช้อีกฝ่ายหนึ่ง ที่จะติดต่อด้วย ใช้เครื่องชนิดอะไร นั่นก็คือความแตกต่าง ระหว่างชนิดของเครื่อง หรือความสัมพันธ์อื่นๆ จะต้องถูกเปลี่ยนโดย Protocol ในระดับที่ต่ำกว่า ให้เป็นที่เรียบร้อย ก่อนจะถึงระดับผู้ใช้ทั้งสองฝ่าย ในกรณีเช่นนี้ จะเกิดประโยชน์มาก ในระบบฐานข้อมูล เพราะฐานข้อมูลแห่งหนึ่งๆ จะต้องถูกเชื่อมโยง และเรียกใช้ข้อมูลภายในฐานได้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกันออกไป เช่น ในระบบธนาคาร หรือการสำรองที่นั่งของสายการบินเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น